1 ตุลาคม 2563
5
"ตลาด" ยอดฝีมือ ที่รวมตำนานชุมชนเลื่องลือ ของดี 4 ชุมชนโบราณ มาถ่ายทอดภูมิปัญญาชุมชน ผ่านวัฒนธรรมอาหารและงานฝีมือ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม จัดงาน ‘ตลาดยอดฝีมือ ตำนานชุมชนเลื่องลือ’ รวมที่สุดของชุมชนยอดฝีมือทั่วประเทศ ผู้ชำนาญทั้งเรื่องศาสตร์และศิลป์แห่งภูมิปัญญา มาถ่ายทอดความรู้ความสามารถทางวัฒนธรรมและฝีมือที่สั่งสมมาแต่ครั้งโบราณกาล ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ไม่ให้เลือนหาย ไฮไลท์ประกอบด้วย 4 ชุมชนโบราณ ทั่วกรุงเทพมหานคร และ 16 ผลิตภัณฑ์เลื่องชื่อมาร่วมกันสานสุข สานภูมิปัญญา สานความยั่งยืน
ภายในงานได้เนรมิตพื้นที่ ให้มีอารมณ์ความเป็นชุมชน ประกอบไปด้วย พื้นที่เวิร์คช้อป นิทรรศการจากวัสดุท้องถิ่น เสมือนให้ผู้มาเยือน รู้สึกเหมือนได้เดินเยี่ยมชมในชุมชนนั้นๆ ผสมการตกแต่งผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ ให้เข้าถึงเสน่ห์ของแต่ละท้องถิ่นจริงๆ
สินค้าที่ได้รับความสนใจ เดินมาทางจากย่านต่างๆ เพื่องานนี้โดยเฉพาะ อาทิ บางพลัด ขนมไทยชุมชน, ขนมกระยาสารท บางอ้อ หรุ่ม กุหลาบยำบู กรอกจิ้มคั่ว แกงต่างๆ เนื้อสะเต๊ะ สินค้าเกษตรมะนาวและผักปลอดสาร กุฏีจีน ขมมฝรั่ง และของที่ระลึกพิพิธภัณฑ์บ้านกุฏีจีน เจริญนคร สาคูไส้เนื้อ ซาลาเปา กะหรี่ปั๊บตำรับมุสลิม ท่าดินแดง หมี่กรอบ วัดกัลยาณ์ ก๋วยเตี๋ยวแกง ชุมชนวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ ข้าวหมูทอด เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ตัวแทนชุมชนโบราณ มาเผยเคล็ดลับการสืบสานฝีมือทางช่างให้สืบทอดรุ่นสู่รุ่น และเสน่ห์ของงานศิลปะ รวมทั้งเผยฝีมือการทำอาหารของชุมชน ที่ไม่มีใครเสมอเหมือน
ซารีนา นุ่มจำนงค์ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มอาหารสานใจ จากชุมชนมัสยิดบางอ้อ และ อุไร มูฮำหมัด กรรมการมัสยิดบางอ้อ บอกเล่าถึงมนต์เสน่ห์ของชุมชนแห่งนี้ว่า บรรพบุรุษอพยพมาอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตก มาตั้งรกรากอยู่ริมแม่น้ำ และตั้งชื่อว่า ‘มัสยิดบางอ้อ’ จากเดิมอยู่บนแพ พอสมัยรัชกาลที่ 5 จึงยกเรือนแพมาอยู่บนพื้นดิน และที่แห่งนี้ถือเป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ที่ค่อนข้างมีฐานะดี ในปีพ.ศ. 2461จึงสร้างมัสยิดแบบปูนและแล้วเสร็จในปีต่อมา ปัจจุบันมัสยิดที่ชุมชนมัสยิดบางอ้อจึงมีอายุครบ 102 ปีแล้ว ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่าเพราะงดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบผสม
ซารีนาเล่าว่า ปัจจุบันสืบทอดมาสู่รุ่นที่ 5 แล้ว มีสมาชิกในชุมชนราว 1,200 คน นอกจากสืบทอดการนับถือศาสนาอิสลามแล้ว ยังสืบทอดวัฒนธรรมการกิน เช่น ‘หรุ่มไส้กุ้ง’ อาหารโบราณเก่าแก่ เมนูนี้จะใช้รับรองแขกในบ้านที่ค่อนข้างมีฐานะ เช่น เสนาบดี หรือเมนู ‘กุหลาบยำบู’ แป้งผสมนมวัวมีกลิ่นหอมของดอกกุหลาบ คล้ายๆ อาหารอินเดีย ‘กรอกจิ้มคั่ว’ แผ่นแป้งนุ่มกินคู่กับแกงไก่ เมนูอาหารว่างกินระหว่างมื้อ ตำรับเมนูอาหารสืบทอดนับร้อยปี
เคล็ดลับการดำรงคงอยู่ในวัฒนธรรมการกินนี้สืบทอดไปชั่วลูกหลานนับ 100 ปี ซารีน่าบอกว่า เดิมอาหารมุสลิมนี้คนชุมชนอื่นยังไม่รู้จัก เธอจึงร่วมกับพี่น้องในชุมชนมัสยิดบางอ้อทำโครงการ ‘อาหารสานใจ’ เพื่อให้เด็ก ๆ ในชุมชนและผู้ใหญ่มีกิจกรรมทำร่วมกันคือสอนและเรียนการทำอาหาร ถือเป็นการช่วยสืบทอดเมนูอาหารคาวหวานของมัสยิด และยังสอนเมนูการทำข้าวอาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน การกวนข้าวอาซูรอเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิม
สะท้อนถึงความรักและสามัคคีกันในชุมชน ซึ่งหากินยากมาก จะได้กินกันปีละครั้งเท่านั้น เคล็ดลับอีกข้อคือ คนในชุมชนต้องรักชุมชนก่อน พอรักแล้วก็จะคิดต่อยอด พอคนหนึ่งทำด้วยใจคนอื่นๆ ในชุมชนก็จะออกมาช่วยกันสานต่อ พอเกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งทุกคนในชุมชนออกมาช่วยกัน และรู้จักใช้โซเชียลให้เกิดประโยชน์กิจกรรมดีๆ ก็จะเผยแผ่เกิดการประชาสัมพันธ์ อีกทั้งอาหารแต่ละชนิดของชุมชนต้องใช้ความประณีตละเมียดละไมในการทำ ทำให้คนต่างชุมชนรู้จักเราในวงกว้างสะท้อนว่าชุมชนของเรามีรากเหง้านับ 120 ปี ก็จะเกิดการสืบสานและคงอยู่ต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น
ด้านชุมชนวัดเทพากร เขตบางพลัด ฝั่งธนบุรี ที่ถือเป็นชุมชนที่สืบสาน การทำ ‘หัวโขน’ งานหัตถ์ศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมชั้นสูงของไทย ที่เผยแพร่ให้คนในชุมชนได้รู้โดยไม่คิดสตางค์โดยมีผู้บุกเบิกคือ ครูสถาพร เลี้ยงสอน ปัจจุบันในวัย 84 ปีจึงส่งถ่ายวิชาการทำหัวโขนที่มีความวิจิตรให้ทายาทสืบสานมรดกไทย ศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด จรัญ 68 ให้กับลูกสาว ครูพัชนี เลี้ยงสอน ได้สืบสานและถ่ายทอดให้คนที่มีใจรักด้านศิลปะได้มาเรียนการทำหัวโขนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ครูพัชนีเล่าว่า เดิมวิชาการทำหัวโขนอยู่แต่ในแวดวงของคนใน ‘โขน’ เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงมาแต่โบราณ การเล่นโขน มีลักษณะชัดเจนในสมัยพระนรายณ์มหาราช นาฏกรรมสวมหัวประกอบขึ้นด้วยศิลปะอันปราณีตหลายอย่าง เครื่องแต่งตัวก็เป็นส่วนสำคัญ และที่โดดเด่นคือเครื่องสวมหัวที่เรียกว่า ‘หัวโขน’ มีลักษณะสีสันต่างกันไปตามตัวละครต่างๆในเรื่อง ‘รามเกียรติ์’
วิธีการสืบทอดตำนานการทำหัวโขนนั้น ครูพัชนีเล่าว่า เริ่มตั้งแต่คุณพ่อของเธอคือครูสถาพรที่ออกมาตั้งกลุ่มฝึกชาวบ้านทำหัวโขน และเครื่องละคร ตั้งเต็นท์สอนกันที่วัดเทพากร โดยครูสถาพรรุ่นคุณพ่อได้วิชาทำหัวโขนจากครูสาคร ยังเขียวสดหรือ ‘โจหลุยส์’ ผู้ที่ชำนาญทางด้านนาฏศิลป์หลายแขนง ทั้งโขน ละคร ลิเก และ ละครหุ่นเล็ก เริ่มจากช่วยผสมปูน เคี่ยวแป้ง จนมาขึ้นหุ่น ปั้นหน้า เขียนหน้า ฝึกอยู่เป็นปี หลังจากเรียนจนทำเป็นทุกหัวแล้วก็กลับมาทำใช้เองในคณะโขนสดของครูสถาพร หัวไหนเสียหายก็ซ่อมเอง ต่อมามีคนรู้มากขึ้นก็มาติดต่อให้ทำกลาย เป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว วิชาที่รู้กันภายในครอบครัวเริ่มแพร่หลายสู่คนทั่วไป เมื่อครูสถาพรเปิดสอนทำหัวโขนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ลูกสาวสานต่อเรียบร้อยแล้ว
ครูพัชนีเผยว่า คนที่จะมาทำหัวโขนและช่วยสืบสานวัฒนธรรมไทยที่ดีคือ ต้องมีใจรักในหัวโขนและงานศิลปะหัตถศิลป์ก่อน เพราะเป็นงานที่มีความละเมียดละไม ใจต้องเย็น ก็จะมีความอดทนทำงานศิลปะแขนงนี้ ทั้งขึ้นรูป ปั้น และลงสีด้วยความใจเย็นจนสำเร็จออกมาเป็นหัวโขนหลากหลายขนาดให้มีความสวยงามดึงดูดผู้มาพบเห็น
“คนเรียนงานหัตถศิลป์นี้ต้องใจรัก และใจเย็น เพราะเวลาขึ้นหุ่นกระดาษมาสองวันแดดแห้งแล้วผ่าหุ่น ให้เข้ารูปทรงทากาวให้ดีแล้วปั้นหน้า กว่าจะถึงขั้นตอนวาดหน้ามันไม่ง่าย แต่ถ้าสนใจที่จะเรียนรู้ประกอบอาชีพได้เลยค่ะ” คุณพัชนีกล่าว
"งานฝีมือ" - Google News
October 01, 2020 at 12:00PM
https://ift.tt/3n5QyLh
แกะรอย 'ตลาด' ยอดฝีมือ ตำนานของดี 4 ชุมชนโบราณ - กรุงเทพธุรกิจ
"งานฝีมือ" - Google News
https://ift.tt/2Mksjrz
No comments:
Post a Comment