การซื้อของออนไลน์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้เกิดกับสินค้า อุปโภคบริโภค มากนัก โดยคนส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะไปซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อจับจ่ายด้วยตัวเอง แต่หลังจากที่ทั่วโลกเจอกับ COVID-19 ส่งผลให้ห้างร้านบางส่วนต้องปิดตัวลงชั่วคร่าว ส่งผลให้ผู้บริโภคบางรายต้องซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านออนไลน์เป็นครั้งแรก
ทั้งนี้ Procter & Gamble หรือ P&G หนึ่งในยักษ์ใหญ่ของสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ อาทิ แพนทีน (Pantene) และ ยิลเลตต์ (Gillette) รวมถึง เนสท์เล่ (Nestlé) บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก เจ้าของแบรนด์อย่าง Häagen-Dazs และ Nescafé ต่างกำลังคาดการณ์ถึงพฤติกรรมใหม่ ที่อาจเป็นนิสัย ‘ถาวร’ ของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโรค COVID-19
หลายข้อมูลพบว่า การเปลี่ยนไปซื้อออนไลน์กำลังเร่งผู้บริโภคให้ซื้อผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและสินค้าอุปโภคบริโภคมากขึ้น โดยร้านขายของชำในสหราชอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดสามแห่งมียอดการจัดส่งสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่า 500,000 ออเดอร์ในเวลาไม่กี่สัปดาห์ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 30% ขณะที่ยอดขายผ่านออนไลน์ของเนสท์เล่ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 30% ในช่วงสามเดือนแรกของปี ขณะที่ P&G เติบโต 35% ในช่วงเวลาเดียวกัน
“วิกฤติ COVID-19 นั้นน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ก้าวหน้าสำหรับการขายอาหารและเครื่องดื่มออนไลน์ เนื่องจากมันทำให้ผู้ที่ไม่เคยซื้อของชำออนไลน์ค้นพบว่ามันสะดวกเพียงใด” มาร์ก ชไนเดอร์ ซีอีโอ เนสท์เล่ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในสภาพแวดล้อมที่เกือบทุกอย่างเปลี่ยนไปในชั่วข้ามคืน พฤติกรรมการซื้อแบบใหม่นั้นจะมาแบบชั่วคราว หรือว่าหลังจากมีวัคซีนแล้วคนก็ยังซื้อออนไลน์ นั่นคือสิ่งที่บริษัทจำเป็นต้องรู้ เพราะตอนนี้ยังไม่ทราบชัดเจนว่าผู้บริโภคบางคนเลือกที่จะซื้อสินค้าออนไลน์เพราะร้านค้าถูกปิดหรือหลีกเลี่ยงฝูงชน และเป็นไปได้แค่ไหนว่าพวกเขาจะไม่กลับไปใช้วิธีเดิม ๆ
“บทเรียนต้น ๆ จากประเทศจีนชี้ให้เห็นว่า ส่วนแบ่งตลาดออนไลน์ที่มีประมาณ 3-6% ของมูลค่าการค้าปลีกนั้น มาจากคนรุ่นเก่าที่เพิ่งคุ้นเคยกับช่องทางดิจิทัลและกลุ่มผู้บริโภคหน้าใหม่” หุ้นส่วนบริษัทที่ปรึกษาของ McKinsey เขียนในรายงานการวิจัย
อย่างไรก็ตาม แม้ในหลายประเทศจะมีการยกเลิกล็อกดาวน์ พร้อมกับอนุญาตให้ร้านอาหาร บาร์ และโรงภาพยนตร์กลับมาเปิดใหม่อีกครั้ง แต่ก็มีความรู้สึกว่าผู้คนยังไม่รีบออกไปไหน โดยมีความเป็นไปได้ว่า ผู้บริโภคอาจจะอยู่ติดบ้านมากขึ้น เพื่อทำอาหารที่บ้าน ทำความสะอาดที่บ้านมากขึ้น รวมถึงมีงานอดิเรกใหม่ ๆ ที่ให้ทำเวลาอยู่บ้าย และด้วยการว่างงานในระดับสูง ผู้บริโภคจำนวนมากจะมีงบประมาณน้อยลงในการช้อปปิ้ง ดังนั้นการอยู่บ้านก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย
การเติบโตของยอดขายออนไลน์ของเครื่องทำขนมปังในสหรัฐอเมริกานั้นเป็นที่ 2 รองจากถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง โดยเติบโตถึง 652% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ยอดขายออนไลน์ของอุปกรณ์ยกน้ำหนัก (+ 307%), ชุดอุปกรณ์งานฝีมือและโครงการ (+ 117%) และโต๊ะปิงปอง (+ 89%) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคจำนวนมากกำลังหาวิธีใหม่ ๆ เพื่อให้ตัวเองมีความบันเทิงที่บ้าน
เช่นเดียวกับการช้อปปิ้งออนไลน์สินค้าสุขภาพ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เติบโตก่อนที่จะมี COVID-19 และเมื่อการระบาดเกิดขึ้น สินค้าในกลุ่มนี้กลับยิ่งได้รับความนิยม เพราะผู้บริโภคทำความสะอาดพื้นผิวและล้างมือมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ยอดขาย ‘น้ำส้ม’ ก็สูงขึ้น เพราะคนต้องการวิตามินซี ที่ผ่านมา ยูนิลีเวอร์มียอดขายเพิ่มขึ้นในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Lipton Immune Support รวมถึงเครื่องดื่มที่มีสังกะสีและวิตามินซี
“เราค่อนข้างมั่นใจว่าสินค้าทุกอย่างในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่จะได้การตอบรับที่แข็งแรงและยั่งยืน” Alan Jope ซีอีโอของยูนิลีเวอร์ กล่าว
สำหรับประเทศไทยเองในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา ยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน เเต่อาจจะต้องรอดูยาว ๆ ว่าจะเป็นพฤติกรรมถาวรหรือไม่ เพราะหลังจากที่คลายมาตรการล็อกดาวน์ลง ผู้บริโภคจำนวนมากก็พร้อมที่จะช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตกันตามปกติเเล้ว
Related
"งานฝีมือ" - Google News
June 05, 2020 at 10:01AM
https://ift.tt/30hboOC
จับตาเทรนด์ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 'ออนไลน์' ที่อาจเป็นพฤติกรรม 'ถาวร' แม้หมด COVID-19 - Positioning Magazine
"งานฝีมือ" - Google News
https://ift.tt/2Mksjrz
No comments:
Post a Comment